
โรคเบาหวานอันตรายหรือไม่? เกิดขึ้นเพราะอะไร? จะแก้ไขได้ด้วยวิธีใดบ้าง?
เบาหวาน
โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus : DM, Diabetes) เป็นโรคที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการนำน้ำตาลไปใช้ประโยชน์อันเกี่ยวเนื่องกับความบกพร่องของฮอร์โมนอินซูลิน* ทำให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อม ก่อให้เกิดอาการและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา ผู้ที่เป็นเบาหวานมักจะมีประวัติคนในครอบครัว (พ่อแม่หรือญาติพี่น้องสายตรง) เป็นโรคนี้ด้วย และมักจะมีภาวะน้ำหนักตัวเกินร่วมด้วย
เบาหวานเป็นโรคที่พบได้สูงในคนทุกอายุและทั้งสองเพศ และพบได้สูงขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ในบ้านเราพบคนเป็นโรคเบาหวานประมาณ 4-6% ของประชากรทั่วไป, 7.1% ของคนไทยช่วงอายุ 20-79 ปี และ 9.6% ของคนไทยที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556 มีผู้ป่วยเบาหวานในประเทศไทยประมาณกว่า 3.5 ล้านคน) และทางสหพันธ์เบาหวานนานาชาติมีการคาดการณ์ว่าจำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 415 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2558 เป็น 642 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2583
คนจำนวนมากกว่าครึ่งไม่ทราบว่าตนเป็นโรคเบาหวาน สถิติการพบผู้ป่วยโรคนี้จึงยังมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ต้องมีการรณรงค์กันอย่างต่อเนื่องถึงภัยร้ายของโรคนี้ เพราะโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนลุกลามใหญ่โตจนต้องสูญเสียอวัยวะที่สำคัญของร่างกายได้ ด้วยเหตุนี้ทางสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation : IDF) และองค์การอนามัยโลก (WHO) จึงได้กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันเบาหวานโลก เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคนี้
หมายเหตุ : อินซูลิน (Insulin) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากเบตาเซลล์ (Beta cells) ของตับอ่อน (Pancreas) โดยฮอร์โมนอินซูลินนี้จะมีหน้าที่ช่วยนำน้ำตาลหรือกลูโคสในเลือด (ซึ่งได้จากอาหารที่เรารับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารจำพวกแป้ง คาร์โบไฮเดรต และของหวาน) เข้าสู่ทั่วร่างกาย เพื่อเผาผลาญให้เป็นพลังงานสำหรับการทำหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ
สาเหตุของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานมีสาเหตุมาจากการบกพร่องของฮอร์โมนอินซูลิน ผู้ที่เป็นเบาหวานจะพบว่าตับอ่อนผลิตอินซูลินได้น้อยหรือผลิตไม่ได้เลย หรือผลิตได้ปกติ แต่ประสิทธิภาพของอินซูลินลดลง เช่นที่พบในคนอ้วน ซึ่งเรียกว่า “ภาวะดื้อต่ออินซูลิน” (Insulin resistance) เมื่อขาดอินซูลินหรืออินซูลินทำหน้าที่ไม่ได้ น้ำตาลในเลือดจึงเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ได้น้อยกว่าปกติ จึงทำให้เกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือด และน้ำตาลก็จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ นี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเราถึงเรียกโรคนี้ว่า “เบาหวาน”
ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นมาก (มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก) มักจะมีอาการปัสสาวะบ่อยและมาก เพราะน้ำตาลที่ออกมาทางไตจะดึงเอาน้ำออกมาด้วย จึงทำให้มีปัสสาวะออกมามากกว่าปกติ เมื่อผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะมากก็จะทำให้รู้สึกกระหายน้ำจนต้องคอยดื่มน้ำบ่อย ๆ และเนื่องจากร่างกายของผู้ป่วยเบาหวานจะไม่สามารถนำน้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงานได้ ร่างกายจึงหันมาเผาผลาญกล้ามเนื้อและไขมันแทน จึงทำให้ร่างกายผอม กล้ามเนื้อฝ่อลีบ ไม่มีไขมัน อ่อนเปลี้ยเพลียแรง นอกจากนี้ การมีน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ๆ ยังทำให้อวัยวะตาง ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงผิดปกติและนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนได้มากมาย
สำหรับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานนั้น
ชนิดของเบาหวาน
โรคเบาหวานสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด ซึ่งจะมีสาเหตุ ความรุนแรง และการรักษาที่แตกต่างกันไป ได้แก่
- เบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 diabetes mellitus) ซึ่งแต่เดิมผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะเรียกว่า “เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน” (Insulin-dependent diabetes mellitus : IDDM) เป็นเบาหวานชนิดที่พบได้น้อยประมาณ 5% ของเบาหวานทั้งหมด แต่มีความรุนแรงและอันตรายสูง อาการของโรคจะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน เบาหวานชนิดนี้มักพบในเด็กและผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี (จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น” หรือ Juvenile diabetes mellitus) แต่ก็อาจพบในผู้สูงอายุได้บ้าง ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ตับอ่อนจะผลิตอินซูลินได้น้อยมากหรือผลิตไม่ได้เลย ซึ่งแพทย์เชื่อว่าร่างกายของผู้ป่วยมีการสร้างสารภูมิต้านทานขึ้นมาต่อต้านทำลายตับอ่อนของตนเองจนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ดังที่เรียกว่า “โรคภูมิต้านตนเอง” (Autoimmune) ทั้งนี้เป็นผลมาจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ร่วมกับการติดเชื้อหรือการได้รับสารพิษจากภายนอก ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีรูปร่างผอม มีอาการของโรคชัดเจนและจำเป็นต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลินเข้าไปทดแทนทุกวันตลอดชีวิต ร่างกายจึงจะสามารถเผาผลาญน้ำตาลได้ตามปกติ มิเช่นนั้นร่างกายจะหันไปเผาผลาญไขมันแทนจนทำให้ร่างกายผอมลงอย่างรวดเร็ว และถ้าเป็นรุนแรงก็จะมีการคั่งของสารคีโตน (Ketones) ซึ่งเป็นสารที่เป็นพิษต่อระบบประสาท (สารคีโตนนี้เป็นสารที่เกิดจากการเผาผลาญไขมัน) จึงทำให้ผู้ป่วยหมดสติถึงตายได้อย่างรวดเร็ว เรียกว่า “ภาวะคั่งสารคีโตน” (Ketosis)
- เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes mellitus) ซึ่งแต่เดิมผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะเรียกว่า “เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน” (Non-insulin-dependent diabetes mellitus : NIDDM) เป็นเบาหวานชนิดที่พบได้เป็นส่วนใหญ่ประมาณ 90-95% ของเบาหวานทั้งหมด เมื่อพูดถึงโรคเบาหวาน จึงมักหมายถึงเบาหวานชนิดนี้ โดยเบาหวานชนิดที่ 2 นี้มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 30-40 ปีขึ้นไป (จึงเรียกอีกชื่อว่า “เบาหวานในผู้ใหญ่” หรือ Adult onset diabetes mellitus) แต่ในปัจจุบันก็มีแนวโน้มจะพบในเด็กและวัยรุ่นได้มากขึ้น เบาหวานชนิดนี้มักมีความรุนแรงน้อย เพราะตับอ่อนของผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังสามารถผลิตอินซูลินได้ แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย (อาการของโรคจึงมีการพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไปในระยะเวลานาน) หรือผลิตได้เพียงพอแต่เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน จึงทำให้มีน้ำตาลคั่งในเลือดกลายเป็นเบาหวานได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีภาวะน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน สาเหตุอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ อ้วนเกินไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแสดงชัดเจนและมักไม่เกิดภาวะคั่งสารคีโตน การควบคุมอาหารหรือการใช้ยาเบาหวานชนิดรับประทานมักจะได้ผลในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติได้ (แต่บางครั้งที่ระดับน้ำตาลสูงมาก ๆ ก็อาจต้องใช้อินซูลินฉีดเป็นครั้งคราว) ยกเว้นในรายที่ดื้อต่อยารับประทานที่อาจต้องใช้อินซูลินตลอดไป
- เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational diabetes mellitus : GDM) พบได้ประมาณ 2-5% ของเบาหวานทั้งหมด โดยในขณะตั้งครรภ์รกจะสร้างฮอร์โมนหลายชนิดเข้าไปในร่างกายหญิงตั้งครรภ์ (ซึ่งฮอร์โมนบางชนิดจะมีฤทธิ์ต่อต้านฮอร์โมนอินซูลิน) จึงทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน เป็นเหตุให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนกลายเป็นเบาหวาน แต่หลังคลอดบุตรระดับน้ำตาลในเลือดของมารดามักจะกลับเป็นสู่ปกติ (หญิงกลุ่มนี้อาจคลอดทารกตัวโตที่มีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม และมักเป็นเบาหวานซ้ำอีกเมื่อตั้งครรภ์ใหม่ และจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานเรื้อรังตามมาได้ในระยะยาว) อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ เบาหวานขณะตั้งครรภ์
- เบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะอื่น ๆ เช่น เบาหวานที่เกิดจากการใช้ยาบางชนิด (เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะไทอะไซด์ ฮอร์โมนไทรอยด์ กรดนิโคตินิก), เบาหวานที่พบร่วมกับโรคหรือภาวะผิดปกติทางกรรมพันธุ์ เช่น เบาหวานที่พบร่วมกับโรคติดเชื้อ (เช่น คางทูม หัดเยอรมันโดยกำเนิด โรคติดเชื้อไซโตเมกาโลไวรัส) เบาหวานที่พบร่วมกับโรคอื่น ๆ (เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง มะเร็งตับอ่อน กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่ชนิดหลายถุง โรคคุงชิง เนื้องอกต่อมหมวกไตฟีโอโครโมโซโตมา โรคอะโครเมกาลี)
อาการของโรคเบาหวาน
- ในรายที่เป็นไม่มาก (ระดับน้ำตาลในเลือดไม่เกิน 200 มก./ดล.) ซึ่งพบได้เป็นส่วนใหญ่ในกลุ่มเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้ป่วยจะยังรู้สึกสบายดีและไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ และมักตรวจพบได้โดยบังเอิญจากการตรวจปัสสาวะหรือการตรวจเลือดในขณะที่ไปพบแพทย์ด้วยสาเหตุอื่นหรือจากการตรวจสุขภาพทั่วไป
- ในรายที่เป็นมาก (ระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 200 มก./ดล.) ซึ่งพบได้ในกลุ่มเบาหวานชนิดที่ 2 และเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นถึงขั้นรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะบ่อยและออกครั้งละมาก ๆ กระหายน้ำบ่อย ปากแห้ง หิวบ่อยหรือกินข้าวจุ รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเปลี้ยเพลียแรง และบางรายอาจสังเกตว่าปัสสาวะมีมดขึ้น
- ปัสสาวะบ่อยและออกครั้งละมาก ๆ เพราะฮอร์โมนอินซูลินที่ผลิตได้ไม่เพียงพอหรือไม่สามารถผลิตได้ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และไตไม่สามารถกรองน้ำตาลส่วนเกินกลับเข้าสู่เลือด จึงปล่อยออกมาพร้อมกับน้ำกลายเป็นปัสสาวะ ผู้ป่วยเบาหวานจึงปัสสาวะบ่อยและมีปริมาณมาก
- กระหายน้ำบ่อย เพราะสูญเสียน้ำจากการปัสสาวะบ่อยครั้ง ร่างกายจึงจำเป็นต้องชดเชยน้ำที่เสียไปทำให้เกิดความกระหายน้ำและอยากดื่มน้ำมากกว่าปกติ
- หิวบ่อยหรือกินจุ เพราะขาดฮอร์โมนอินซูลิน จึงทำให้เซลล์ไม่ได้รับพลังงาน ร่างกายจึงพยายามหาแหล่งอาหารมากขึ้นด้วยการส่งสัญญาณออกมาด้วยอาการหิว
- เหนื่อยง่าย เพราะน้ำตาลไม่สามารถเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานได้
ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแสดงชัดเจน มีเพียงส่วนน้อยที่จะมีอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้น น้ำหนักตัวอาจลดลงบ้างเล็กน้อย แต่บางรายอาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีภาวะน้ำหนักตัวเกินหรือโรคอ้วนอยู่แต่เดิม ในรายที่เป็นเรื้อรังมานานทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการปัสสาวะบ่อยมาก่อน อาจมีอาการคันตามตัว เป็นฝีหรือโรคติดเชื้อราที่ผิวหนังบ่อย หรือเป็นแผลเรื้อรังที่หายช้ากว่าปกติ (โดยเฉพาะแผลที่บริเวณเท้า) หรืออาจมาพบแพทย์ด้วยภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เจ็บจุกหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต สายตามัวลงทุกทีหรือต้องเปลี่ยนแว่นสายตาบ่อย ฯลฯ
น้ำหนักลดลงผิดปกติ เพราะเซลล์ไม่สามารถนำน้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงานได้ ร่างกายจึงหันมาเผาผลาญกล้ามเนื้อและไขมันแทน จึงทำให้ร่างกายผอม กล้ามเนื้อฝ่อลีบ ไม่มีไขมัน
สายตามัว เห็นภาพไม่ชัด เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เกิดการคั่งของน้ำตาลในเลนส์ตาจนจอประสาทตาเกิดอาการผิดปกติ หรือมีระดับน้ำตาลสูงเป็นเวลานานจนเกิดความผิดปกติของจอประสาทตา ซึ่งในบางรายอายอาจรุนแรงถึงขั้นตาบอด
ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 อาการต่าง ๆ มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วร่วมกับน้ำหนักตัวลดลงอย่างฮวบฮาบ (กินเวลาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน) ในผู้ป่วยเด็กบางรายอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอนในตอนกลางคืน ผู้ป่วยบางรายอาจมาโรงพยาบาลด้วยอาการหมดสติจากภาวะคีโตแอซิโดซิส (Ketoacidosis) ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอายุน้อยและรูปร่างผอม
การรักษาโรคเบาหวาน
- เมื่อผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน แพทย์จะให้สุขศึกษาแนะนำข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วย พร้อมกับอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงธรรมชาติของโรคและปัจจัยที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อให้ผู้ป่วยเห็นประโยชน์และทราบถึงแนวทางในการควบคุมโรค (มิเช่นนั้น ผู้ป่วยอาจละเลยในการดูแลตนเอง ดิ้นรนเปลี่ยนหมอไปเรื่อย ๆ หรือหันไปกินยาหม้อหรือสมุนไพรแทน ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลการวินิจฉัยที่ยืนยันได้ว่ามีสมุนไพรชนิดใดที่ใช้รักษาโรคเบาหวานแล้วได้ผลดีและปลอดภัยกว่ายามาตรฐาน) และพิจารณาให้ยารักษาเบาหวาน ร่วมไปกับการประเมินภาวะเสี่ยงอื่น ๆ (เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำหนักตัวเกิน ไขมันในเลือดสูงหรือผิดปกติ) และทำการควบคุมความเสี่ยงต่าง ๆ (เช่น ให้ยาลดความดัน ยาลดไขมัน) ควบคู่กันไปให้ได้ตามเป้าหมายในข้อ 3 ซึ่งถ้าควบคุมได้ดีอย่างต่อเนื่องก็จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ลงได้
- ยารักษาเบาหวาน เป็นยาที่ใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่ ชนิดรับประทาน และชนิดฉีด
- ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน เป็นยาที่ใช้รักษาเบาหวานชนิดที่ 2 โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
- ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylureas) ได้แก่ ยาไกลเบนคลาไมด์ (Glibenclamide) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น ดาโอนิล (Daonil) ยูกลูคอน (Euglucon), ยาไกลพิไซด์ (Glipizide) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น มินิเดียบ (Minidiab), ยาไกลคลาไซด์ (Gliclazide) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น ไดอะไมครอน (Diamicron), ยาไกลเมพิไรด์ (Glimepiride) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น อะแมริล (Amaryl), ยาคลอร์โพรพาไมด์ (Chlorpropamide) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น ไดเอบินิส (Diabinese) เป็นกลุ่มยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งอินซูลิน นิยมใช้เป็นยาตัวแรกในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน ส่วนผลข้างเคียงสำคัญ คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และการแพ้ยา (ผู้แพ้ยากลุ่มซัลฟาจะมีโอกาสแพ้ยากลุ่มนี้ได้มากขึ้น) ถ้าใช้ร่วมกับยากลุ่มซัลฟา ยากลุ่มต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาลดไขมันกลุ่มไครไฟเบรต หรือแอสไพริน ยาเหล่านี้จะเสริมฤทธิ์การลดน้ำตาลจนอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ แต่ถ้าร่วมกับยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะกลุ่มไทอะไซด์ ยาเม็ดคุมกำเนิด หรือยากลุ่มปิดกั้นเบต้า ยาเหล่านี้อาจต้านฤทธิ์การลดน้ำตาลจนทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้
- ยากลุ่มไบกัวไนด์ (Biguanides) ได้แก่ ยาเมทฟอร์มิน (Metformin) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น กลูโคฝาจ (Glucophage) เป็นกลุ่มยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างกลูโคสที่ตับและกระตุ้นให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น ทำให้เซลล์ของเนื้อเยื่อต่าง ๆ นำกลูโคสไปใช้งานได้มากขึ้น แพทย์มักใช้ยากลุ่มนี้เป็นยาตัวแรกในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง (เพราะยานี้ช่วยลดระดับไขมันในเลือด) หรือมีภาวะน้ำหนักตัวเกิน (เพราะยานี้ช่วยลดน้ำหนัก) และสามารถใช้ควบกับยารักษาเบาหวานกลุ่มอื่น ๆ ได้ทุกกลุ่ม ส่วนผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ ปากคอขม เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปวดมวนท้อง ท้องเสีย ถ้าใช้กับยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรียหรือยาฉีดอินซูลิน อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ยากลุ่มเมกลิทิไนด์ (Meglitinides) ได้แก่ ยารีพาไกลไนด์ (Repaglinide) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น โนโวนอร์ม (NovoNorm) เป็นกลุ่มยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งอินซูลิน สามารถใช้แทนยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรียได้ในทุกกรณี ส่วนผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ การแพ้ยา
- ยากลุ่มกลิตาโซน (Glitazone) ได้แก่ ยาโรสิกลิตาโซน (Rosiglitazone) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น อะแวนเดีย (AVANDIA), ยาไพโอกลิตาโซน (Pioglitazone) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น แอ็กทอส (Actos) เป็นกลุ่มยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อนำกลูโคสไปใช้งานได้ดีขึ้น สามารถใช้เป็นยารักษาเบาหวานแบบเดี่ยว ๆ หรือใช้ควบกับยารักษาเบาหวานกลุ่มอื่น ๆ ได้ทุกกลุ่ม ส่วนผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ บวม น้ำหนักตัวขึ้น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เอนไซม์ตับ (AST, ALT) ขึ้น การติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนต้น
- ยากลุ่มยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส (Alpha-glucosidase inhibitors) ได้แก่ ยาอะคาร์โบส (Acarbose) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น กลูโคเบย์ (Glucobay), ยาโวกลิโบส (Voglibose) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น เบเซ่น (Basen) เป็นกลุ่มยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล จึงช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสดลือดได้ นิยมใช้ยากลุ่มนี้เป็นยาเสริมยารักษาเบาหวานกลุ่มอื่น ๆ ได้ทุกกลุ่ม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่มีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารปกติ แต่ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารสูง) ส่วนผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ มีลมในท้อง ปวดท้อง ท้องเสีย
- ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน เป็นยาที่ใช้รักษาเบาหวานชนิดที่ 2 โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
-
- ยารักษาเบาหวานชนิดฉีด คือ อินซูลิน เป็นยาใช้รักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 บางกรณี (ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยที่แพทย์ให้ยารักษาเบาหวานชนิดประทานอย่างเต็มที่แล้วแต่ยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ และอีกกลุ่ม คือ ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อรุนแรง หรือได้รับการผ่าตัด หรือขณะตั้งครรภ์ ซึ่งแพทย์จะเปลี่ยนมาใช้ยาฉีดอินซูลินแบบชั่วคราวไปก่อนจนกว่าอาการจะดีขึ้น จึงจะกลับไปใช้ยาชนิดรับประทาน), ผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคตับหรือโรคไต, ผู้ป่วยเบาหวานที่แพ้ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน และหญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ส่วนประเภทของอินซูลินนั้นสามารถแบ่งตามระยะเวลาการออกฤทธิ์ออกได้เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
- อินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็ว (Rapid acting insulin) ได้แก่ อินซูลินแอสพาร์ท (Insulin aspart) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น โนโลราพิดเฟล็กซ์เพน (NovoRapid FlexPen), อินซูลินลิสโปร (Insulin lispro) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น ฮิวมาล็อก (Humalog), อินซูลินกลูลิซีน (Insulin glulisine) โดยยาจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 10-15 นาทีหลังฉีดเข้าใต้ผิวหนัง และคงฤทธิ์อยู่ได้นาน 3-5 ชั่วโมง จึงเหมาะสำหรับการควบระดับน้ำตาลที่สูงหลังรับประทานอาหาร (ควรฉีดทันทีก่อนหรือหลังรับประทาน)
- อินซูลินชนิดออกฤทธิ์ในช่วงปกติ (Regular insulin) จัดเป็นกลุ่มอินซูลินออกฤทธิ์สั้น มีชื่อทางการค้า เช่น ฮิวมูลินอาร์ (Humulin R) แอคทราพิดเฮชเอ็ม (Actrapid HM) โดยยาจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 30 นาทีหลังฉีดเข้าใต้ผิวหนัง และคงฤทธิ์อยู่ได้นาน 5-8 ชั่วโมง (ควรฉีดก่อนอาหารประมาณ 30 นาที)
- อินซูลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง (Intermediate-acting insulin) ได้แก่ เอ็นพีเอช (NPH) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น ฮิวมูลินเอ็น (Humulin N) อินซูลาทาร์ดเอชเอ็ม (Insulatard HM), เลนเต้ (Lente) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น โมโนทาร์ดเอชเอ็ม (Monotard HM) โดยยาจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 1-2½ ชั่วโมงหลังฉีดเข้าใต้ผิวหนัง และคงฤทธิ์อยู่ได้นาน 18-24 ชั่วโมง (อาจฉีดก่อนอาหารพร้อมอินซูลินชนิดปกติ หรือฉีดในช่วงเวลาอื่นก็ได้ แต่มีข้อควรระวังคือ ระยะเวลาที่ออกฤทธิ์สูงสุดคือประมาณ 6-12 ชั่วโมงหลังฉีดยา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้)
- อินซูลินชนิดออกฤทธิ์ยาว (Long-acting insulin) ได้แก่ อินซูลินกลาร์จีน (Insulin glargine) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น แลนตัส (Lantus), อินซูลินดีทีเมียร์ (Insulin detemir) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น เลวีเมียร์ (LEVEMIR) โดยยาจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 2-5 ชั่วโมงหลังฉีดเข้าใต้ผิวหนัง และคงฤทธิ์อยู่ได้นาน 20-24 ชั่วโมง จึงใช้ฉีดเพียงวันละ 1 ครั้ง (ควรฉีดให้ตรงเวลาเดียวกันทุกวัน) และมีข้อดี คือ โอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมีค่อนข้างน้อย
- อินซูลินชนิดผสม เป็นการนำอินซูลินที่มีระยะเวลาการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันมาผสมในขวดเดียวกัน ทำให้ยาเริ่มออกฤทธิ์ได้เร็วภายใน 10-30 นาที และคงฤทธิ์อยู่ได้นาน 24 ชั่วโมง จึงช่วยลดจำนวนครั้งของการฉีดลง แต่มีข้อเสีย คือ ไม่สามารถปรับขนาดของอินซูลินชนิดใดชนิดหนึ่ง (ที่ผสมรวมกัน) เพียงอย่างเดียวตามที่ต้องการโดยไม่กระทบต่อขนาดของอินซูลินอีกชนิดหนึ่งได้ โดยตัวอย่างของยากลุ่มนี้ มีชื่อทางการค้า เช่น ฮิวมูลิน 70/30 (Humulin 70/30) มิกซ์ทาร์ดเอชเอ็ม (Mixtard HM) ซึ่งประกอบไปด้วย เอ็นพีเอช (NPH) 70% กับอินซูลินชนิดปกติอีก 30% (การฉีดยากลุ่มนี้ผู้ป่วยจะต้องระวังการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำช่วง 6-8 ชั่วโมงหลังฉีดยา)ยารักษาเบาหวาน เป็นยาที่ใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่ ชนิดรับประทาน และชนิดฉีด
- ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน เป็นยาที่ใช้รักษาเบาหวานชนิดที่ 2 โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
- ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylureas) ได้แก่ ยาไกลเบนคลาไมด์ (Glibenclamide) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น ดาโอนิล (Daonil) ยูกลูคอน (Euglucon), ยาไกลพิไซด์ (Glipizide) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น มินิเดียบ (Minidiab), ยาไกลคลาไซด์ (Gliclazide) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น ไดอะไมครอน (Diamicron), ยาไกลเมพิไรด์ (Glimepiride) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น อะแมริล (Amaryl), ยาคลอร์โพรพาไมด์ (Chlorpropamide) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น ไดเอบินิส (Diabinese) เป็นกลุ่มยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งอินซูลิน นิยมใช้เป็นยาตัวแรกในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน ส่วนผลข้างเคียงสำคัญ คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และการแพ้ยา (ผู้แพ้ยากลุ่มซัลฟาจะมีโอกาสแพ้ยากลุ่มนี้ได้มากขึ้น) ถ้าใช้ร่วมกับยากลุ่มซัลฟา ยากลุ่มต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาลดไขมันกลุ่มไครไฟเบรต หรือแอสไพริน ยาเหล่านี้จะเสริมฤทธิ์การลดน้ำตาลจนอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ แต่ถ้าร่วมกับยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะกลุ่มไทอะไซด์ ยาเม็ดคุมกำเนิด หรือยากลุ่มปิดกั้นเบต้า ยาเหล่านี้อาจต้านฤทธิ์การลดน้ำตาลจนทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้
- ยากลุ่มไบกัวไนด์ (Biguanides) ได้แก่ ยาเมทฟอร์มิน (Metformin) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น กลูโคฝาจ (Glucophage) เป็นกลุ่มยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างกลูโคสที่ตับและกระตุ้นให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น ทำให้เซลล์ของเนื้อเยื่อต่าง ๆ นำกลูโคสไปใช้งานได้มากขึ้น แพทย์มักใช้ยากลุ่มนี้เป็นยาตัวแรกในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง (เพราะยานี้ช่วยลดระดับไขมันในเลือด) หรือมีภาวะน้ำหนักตัวเกิน (เพราะยานี้ช่วยลดน้ำหนัก) และสามารถใช้ควบกับยารักษาเบาหวานกลุ่มอื่น ๆ ได้ทุกกลุ่ม ส่วนผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ ปากคอขม เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปวดมวนท้อง ท้องเสีย ถ้าใช้กับยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรียหรือยาฉีดอินซูลิน อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ยากลุ่มเมกลิทิไนด์ (Meglitinides) ได้แก่ ยารีพาไกลไนด์ (Repaglinide) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น โนโวนอร์ม (NovoNorm) เป็นกลุ่มยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งอินซูลิน สามารถใช้แทนยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรียได้ในทุกกรณี ส่วนผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ การแพ้ยา
- ยากลุ่มกลิตาโซน (Glitazone) ได้แก่ ยาโรสิกลิตาโซน (Rosiglitazone) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น อะแวนเดีย (AVANDIA), ยาไพโอกลิตาโซน (Pioglitazone) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น แอ็กทอส (Actos) เป็นกลุ่มยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อนำกลูโคสไปใช้งานได้ดีขึ้น สามารถใช้เป็นยารักษาเบาหวานแบบเดี่ยว ๆ หรือใช้ควบกับยารักษาเบาหวานกลุ่มอื่น ๆ ได้ทุกกลุ่ม ส่วนผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ บวม น้ำหนักตัวขึ้น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เอนไซม์ตับ (AST, ALT) ขึ้น การติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนต้น
- ยากลุ่มยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส (Alpha-glucosidase inhibitors) ได้แก่ ยาอะคาร์โบส (Acarbose) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น กลูโคเบย์ (Glucobay), ยาโวกลิโบส (Voglibose) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น เบเซ่น (Basen) เป็นกลุ่มยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล จึงช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสดลือดได้ นิยมใช้ยากลุ่มนี้เป็นยาเสริมยารักษาเบาหวานกลุ่มอื่น ๆ ได้ทุกกลุ่ม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่มีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารปกติ แต่ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารสูง) ส่วนผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ มีลมในท้อง ปวดท้อง ท้องเสีย
- ยารักษาเบาหวานชนิดฉีด คือ อินซูลิน เป็นยาใช้รักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 บางกรณี (ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยที่แพทย์ให้ยารักษาเบาหวานชนิดประทานอย่างเต็มที่แล้วแต่ยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ และอีกกลุ่ม คือ ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อรุนแรง หรือได้รับการผ่าตัด หรือขณะตั้งครรภ์ ซึ่งแพทย์จะเปลี่ยนมาใช้ยาฉีดอินซูลินแบบชั่วคราวไปก่อนจนกว่าอาการจะดีขึ้น จึงจะกลับไปใช้ยาชนิดรับประทาน), ผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคตับหรือโรคไต, ผู้ป่วยเบาหวานที่แพ้ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน และหญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ส่วนประเภทของอินซูลินนั้นสามารถแบ่งตามระยะเวลาการออกฤทธิ์ออกได้เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
- อินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็ว (Rapid acting insulin) ได้แก่ อินซูลินแอสพาร์ท (Insulin aspart) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น โนโลราพิดเฟล็กซ์เพน (NovoRapid FlexPen), อินซูลินลิสโปร (Insulin lispro) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น ฮิวมาล็อก (Humalog), อินซูลินกลูลิซีน (Insulin glulisine) โดยยาจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 10-15 นาทีหลังฉีดเข้าใต้ผิวหนัง และคงฤทธิ์อยู่ได้นาน 3-5 ชั่วโมง จึงเหมาะสำหรับการควบระดับน้ำตาลที่สูงหลังรับประทานอาหาร (ควรฉีดทันทีก่อนหรือหลังรับประทาน)
- อินซูลินชนิดออกฤทธิ์ในช่วงปกติ (Regular insulin) จัดเป็นกลุ่มอินซูลินออกฤทธิ์สั้น มีชื่อทางการค้า เช่น ฮิวมูลินอาร์ (Humulin R) แอคทราพิดเฮชเอ็ม (Actrapid HM) โดยยาจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 30 นาทีหลังฉีดเข้าใต้ผิวหนัง และคงฤทธิ์อยู่ได้นาน 5-8 ชั่วโมง (ควรฉีดก่อนอาหารประมาณ 30 นาที)
- อินซูลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง (Intermediate-acting insulin) ได้แก่ เอ็นพีเอช (NPH) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น ฮิวมูลินเอ็น (Humulin N) อินซูลาทาร์ดเอชเอ็ม (Insulatard HM), เลนเต้ (Lente) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น โมโนทาร์ดเอชเอ็ม (Monotard HM) โดยยาจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 1-2½ ชั่วโมงหลังฉีดเข้าใต้ผิวหนัง และคงฤทธิ์อยู่ได้นาน 18-24 ชั่วโมง (อาจฉีดก่อนอาหารพร้อมอินซูลินชนิดปกติ หรือฉีดในช่วงเวลาอื่นก็ได้ แต่มีข้อควรระวังคือ ระยะเวลาที่ออกฤทธิ์สูงสุดคือประมาณ 6-12 ชั่วโมงหลังฉีดยา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้)
- อินซูลินชนิดออกฤทธิ์ยาว (Long-acting insulin) ได้แก่ อินซูลินกลาร์จีน (Insulin glargine) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น แลนตัส (Lantus), อินซูลินดีทีเมียร์ (Insulin detemir) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น เลวีเมียร์ (LEVEMIR) โดยยาจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 2-5 ชั่วโมงหลังฉีดเข้าใต้ผิวหนัง และคงฤทธิ์อยู่ได้นาน 20-24 ชั่วโมง จึงใช้ฉีดเพียงวันละ 1 ครั้ง (ควรฉีดให้ตรงเวลาเดียวกันทุกวัน) และมีข้อดี คือ โอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมีค่อนข้างน้อย
- อินซูลินชนิดผสม เป็นการนำอินซูลินที่มีระยะเวลาการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันมาผสมในขวดเดียวกัน ทำให้ยาเริ่มออกฤทธิ์ได้เร็วภายใน 10-30 นาที และคงฤทธิ์อยู่ได้นาน 24 ชั่วโมง จึงช่วยลดจำนวนครั้งของการฉีดลง แต่มีข้อเสีย คือ ไม่สามารถปรับขนาดของอินซูลินชนิดใดชนิดหนึ่ง (ที่ผสมรวมกัน) เพียงอย่างเดียวตามที่ต้องการโดยไม่กระทบต่อขนาดของอินซูลินอีกชนิดหนึ่งได้ โดยตัวอย่างของยากลุ่มนี้ มีชื่อทางการค้า เช่น ฮิวมูลิน 70/30 (Humulin 70/30) มิกซ์ทาร์ดเอชเอ็ม (Mixtard HM) ซึ่งประกอบไปด้วย เอ็นพีเอช (NPH) 70% กับอินซูลินชนิดปกติอีก 30% (การฉีดยากลุ่มนี้ผู้ป่วยจะต้องระวังการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำช่วง 6-8 ชั่วโมงหลังฉีดยา)
- ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน เป็นยาที่ใช้รักษาเบาหวานชนิดที่ 2 โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
- ยารักษาเบาหวานชนิดฉีด คือ อินซูลิน เป็นยาใช้รักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 บางกรณี (ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยที่แพทย์ให้ยารักษาเบาหวานชนิดประทานอย่างเต็มที่แล้วแต่ยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ และอีกกลุ่ม คือ ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อรุนแรง หรือได้รับการผ่าตัด หรือขณะตั้งครรภ์ ซึ่งแพทย์จะเปลี่ยนมาใช้ยาฉีดอินซูลินแบบชั่วคราวไปก่อนจนกว่าอาการจะดีขึ้น จึงจะกลับไปใช้ยาชนิดรับประทาน), ผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคตับหรือโรคไต, ผู้ป่วยเบาหวานที่แพ้ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน และหญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ส่วนประเภทของอินซูลินนั้นสามารถแบ่งตามระยะเวลาการออกฤทธิ์ออกได้เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้