
10 อันดับ โรงงานรับผลิตอาหารเสริมลดน้ำหนัก ปลอดภัย มีมาตราฐานรองรับ
ผู้ประกอบธุรกิจอาหารเสริม รายใหม่ คงเลือกโรงงานผลิตอาหารเสริม แทนการลงทุนสร้างโรงงานเอง นั้นเป็นเพราะว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่าและใช้เม็ดเงินลงทุนน้อยกว่า เมื่อเทียบกับการต้องมาซื้อเครื่องจักรมาผลิตเอง แต่ทว่ากลับมีข้อเสียที่ผู้ประกอบการต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก หากเลือก โรงงานผลิตอาหารเสริม ที่ไม่ได้มาตรฐาน เหมือนกับการฆ่าแบรนด์ของตัวเองทางอ้อมได้เลย
มาตรฐานโรงงานผลิตอาหารเสริม ต้องมีอะไรบ้างมาทำความรู้จักกัน
หลักเกณฑ์ที่ดีในการผลิต ตามกระทรวงสาธารณสุข (GMP)
หลักเกณฑ์หนึ่งที่ใช้ชี้วัดมาตรฐาน โรงงานผลิตครีม เครื่องสำอาง อาหารเสริม และอาหารเสริม คือมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) เป็นมาตรฐานตรวจวัดขั้นตอนการผลิต ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์วัดสถานที่ผลิตภัณฑ์ต้องมีความสะอาด ถูกสุขภาพอนามัย การผลิตถูกต้อง ปราศจากการปนเปื้อนในสายการผลิต ตลอดถึงควบคุมบุคลลากรในการผลิตให้ถูกต้องเป็นไปตามมาตรฐาน กล่าวโดยรวมคือการดูแลการผลิตครอบคลุมทั่วโรงงาน ซึ่งโรงงงานอาหารเสริม จำเป็นต้องมี GMP เป็นไปตามข้อบังคับของกระทรวงสาธารณสุขที่มีหน้าที่ตรวจสอบ โดยบริษัทเอกชนจะไม่มีสิทธิ์เข้าดำเนินการตรวจสอบใดๆทั้งสิ้น
มาตรฐานโรงงานผลิตอาหารเสริม ISO มาตรฐานคุณภาพระดับโลก
ISO (International Standards Organization) หรือมาตรฐานไอเอสโอ เป็นมาตรฐานสากล หาก โรงงานผลิตอาหารเสริม ใดมี ISO แสดงว่าโรงงานผลิตอาหารเสริมนั้นมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งตัวเลขต่อท้าย ISO มีความหมายแตกต่างกัน แต่ ISO ที่มีความสำคัญกับอุตสาหกรรม โรงงานอาหารผลิตเสริม คือ ISO 9001 และ ISO 22716
ISO 9001 คือการรับรองคุณภาพด้านการจัดการขององค์กร โดยจำแนกมาตรฐานดังนี้
- สินค้าและบริการมีมาตรฐาน
- ลูกค้าเป็นบุคคลสำคัญ
- บริการรวดเร็วตรวจสอบได้ โดยการสื่อสารมีประสิทธิภาพ มีแผนปฏิบัติงานอย่างชัดเจน พนักงานมีความรู้ความสามารถ
- ทุกกระบวนการมีผู้ตรวจสอบดูแลทุกขั้นตอน
- มีการวิเคราะห์และประเมินผล ทำให้ผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพ
ISO 22716:2007 เป็นระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรป เพื่อกำหนดให้ อาหารเสริม ที่จำหน่ายในสหภาพยุโรปต้องมีระบบการจัดการที่ถูกสุขลักษณะ หรือเปรียบเทียบมาตรฐาน GMP ระดับประเทศ ระดับเอเชีย โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติตามมาตรฐานดังนี้
- การจัดการระบบเอกสารอย่างมีระบบระเบียบ
- มีการควบคุมการผลิต
- ควบคุมการจัดเก็บ
- การขนส่งผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
- มีการจัดการปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวกับคุณภาพของอาหารเสริม
แม้ว่าการเลือก โรงงานผลิตอาหารเสริม มีข้อดีสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ แต่ทว่าหากเลือกโรงงานผิดที่ไร้คุณภาพย่อมมีความเสี่ยงไม่น้อย ทำให้สินค้าของเราด้อยประสิทธิภาพ ลูกค้าต้องเดือดร้อนเพราะพิษอาหารเสริมไม่มีคุณภาพ ทางที่ดีคือการตรวจสอบโรรงงานให้ดีเสียก่อน เป็นขั้นตอนแรกที่ผู้ประกอบการห้ามมองข้ามเด็ดขาด มิเช่นนั้นคุณอาจต้องถูกฟ้องร้องเพราะอาหารเสริม ทำพิษ ให้ผู้บริโภคต้องเสียโทรมหรือเสียสุขภาพโดยที่ไม่ใช่ฝีมือของเราก็ได้